วันนี้ไปรับหลานสาวที่สนามบินสุวรรณภูมิ จึงถือโอกาศไปชมวัดกิ่งแก้ว เพราะอยู่ใกล้สนามบิน เขาว่า “ภาพจิตรกรรมฝาผนังน่าชมนัก”

         วัดกิ่งแก้วชื่อเดิมวัดกิ่งไผ่ สร้าง พ.ศ. 2428ในสมัยร.5 (พศ.2411-2458) ติดถนนกิ่งแก้ว ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี สมุทรปราการ มีการบูรณะครั้งใหญ่โดยหม่อมแก้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดกิ่งแก้ว

image

ศาลาจตุรมุขกลางสระนำ้ประดิษฐานรูปปั้นหลวงปู่เผือก/สะพานไม้โค้งข้ามสระนำ้น่าชม

image

image

image

         หลวงปู่เผือก(พศ.2412-2501)สิริอายุเกือบ90ปี69พรรษาเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปีพศ.2443พระนักพัฒนาและเกจิชื่อดังผู้คนนับถือกว้างขวางโดยเฉพาะวงการพระเครื่อง
         -พระเจดีย์ใหญ่ประดับด้วยกระเบื้องสีส้ม

image

พระอุโบสถหลังเก่ามีเสน่ห์เคร่งขรึม
    :

image

ประตูด้านหน้ามียักษ์2ตนเฝ้าเป็นทวาลบาล:

image

พระประธานในโบสถ์ปางมารวิชัย/รูปปั้นหลวงปู่เผือกและยังมีพระพุทธรูปยืนทรงเครื่องปางห้ามสมุทรหรือเรียกปางห้ามญาติ2องค์ศีลปสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

image

image

ภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติชาดกรวมทั้งพระมาลัยโปรดสัตว์และฤาษีดัดตน เขียนไว้ประมาณปีพ.ศ.2465( สมัยปลายร.6)สอดแทรกอารมณ์ขันของศีลปินน่าชมยิ่งนัก
         -ผนังหลังพระประธานเป็นรูปพระพุทธเจ้าเสด็จจากการไปโปรดพระราช
มารดาที่ชั้นดาวดึงษ์ลงมาโลกมนุษย์

image

       -ผนังด้านหน้าพระประธาน:เป็นภาพมารผจญแต่ภาพพระพุทธเจ้ากลับเขียนเป็นปางสมาธิแทนปางมารวิชัย มีรูปยักษ์ รูปสัตว์รวมทั้งชาวต่างชาติปะปนอยู่เป็นบริวารของ
พระยาวัสดีมาร สำหรับท่ายืนของพระแม่ธรณี เป็นท่ายืนแบบธรรมชาติ ต่างกับที่อื่นที่ยืนเอี้ยวกาย

image

          สันนิฐานว่าศีลปินผู้วาดได้รับแรงบันดาลใจจากภาพจิตรกรรมที่โบสถ์วัดเกาะ จ.เพชรบุรีซึ่งเขียนไว้ในสมัยพระเจ้าบรมโกศ พ.ศ.2277
          -เปรียบเทียบกับภาพจากวัดเกาะ:

image

image

ภาพฝาผนังพุทธประวัติตอนประสูตร:

image

ภาพพุทธประวัติช่วงที่ทรงแลเห็นเทวทูต คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ประกอบกับทราบข่าวว่าพระนางพิมพาได้ประสูติพระโอรส พระองค์เสด็จเข้าไปในห้องดูพระโอรสและถอยออกมา มีรูปนายฉันนะเตรียมม้าอยู่ และพระองค์เสด็จขึ้นหลังม้าโดยมีนายฉันนะเกาะหางม้า”ศีลปินมีอารมณ์ขันเขียนรูปนายฉันนะใส่เสื้อราชปะแตน”

image

image

ภาพทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยามีพระอินทร์มาสีไวโอลินให้ฟัง แสดงอารมณ์ขันของผู้วาด:

image

ภาพแสดงสถานที่สำคัญที่พระพุพทธเจ้าเสด็จประทับหลังจากตรัสรู้7แห่งๆละ7วันเรียกว่าสัตตมหาสถาน:

image

ภาพผู้คนมาเฝ้าพระพุทธเจ้ามีทั้งมาโดยรถเจ็กและเดินมาชุดราชปะแตน:

image

รูปนี้ก็แสดงอารมณ์ขันของศีลปินดูเอาเองครับ:

image

รูปเปรต สัตว์นรก รวมทั้งข้าราชการใส่ชุดสากลขี่จักรยาน สวมแว่นตามาขอส่วนบุญจากพระพุทธเจ้า โปรดสังเกตุมีธงช้างเผือกพื้นแดงตรงกลางมีช้างเผือกขาวซึ่งเป็นธงชาติสยามใช้มาตั้งแต่ร.4จนถึงปีพ.ศ.2459สมัยร.6

image

ภาพโทนพราหมณ์ห้ามศึกแย่งพระบรมสารีริกธาตุและเป็นผู้ตัดสินแจกพระบรม
สารีริกธาตุ

image

ยังมีอีกมากที่น่าชมถ้าค่อยๆดูจะเห็นความ
สามารถศีลปินที่สามารถบรรจุรายละเอียดเข้าในภาพที่มีเนื้อที่จำกัดและสอดแทรกอารมณ์ขันเข้าด้วย
        -รูปพระอุโบสถหลังใหม่:

image

       -พระประธาน:หลังพระประธานจิตรกรรมเป็นรูปวิมานของเทวดาต่างๆเช่น
พระวรุณ”เทพแห่งความเย็น” พระอินทร์คือเทพผู้บันดาลให้เกิดสิ่งทั้งปวงในโลก พระยมคือเทพผู้ทำลายชีวิตมนุษย์และสัตว์ ในรูปมีพระอาทิตย์ชักราชรถ(สีแดง)และพระจันทร์ชักราชรถ(สีขาว)ซึ่งเป็นความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ยุคต้นๆ”ยุคพระเวท”

image

ภาพฝาผนังด้านหน้าพระประธานเป็นรูปมารผจญ พระพุทธเจ้าปางมารวิชัยและแม่พระธรณีเอี้ยวพระกาย:

image

       ภาพฝาผนังทั้ง2ด้านเป็นรูปพุทธประวัติโดยมีการจัดองค์ประกอบจิตรกรรมใช้เส้นแฉกแบ่งผนังเป็นรูปสามเหลี่ยมยอดแหลมซ้อนกัน2ชั้น ลักษณะเดียวกับวัดเกาะ เพชรบุรี

image

image

       เปรียบเทียบกับวัดเกาะ:

image

      -ผนังขอบหน้าต่างก่อ45องศาทำให้มีพื้นที่เขียนภาพจิตรกรรม

image

       -ก่อนจากวัดกิ่งแก้ว เนื่องจากยังไม่ทราบประวัติของวัดดีพอ แต่จากดูภาพจิตรกรรมเปรียบเทียบกับวัดเกาะ เพชรบุรี จึงสันนิฐานว่า ผู้บูรณะวัดครั้งใหญ่”หม่อมแก้ว”น่าจะเกี่ยวข้องกับวัดเกาะอาจเป็นคนเพชรบุรีและศีลปินที่เขียนภาพในโบสถ์เก่าน่าจะเป็นช่างสกุล”เพชรบุรี”
        -ช่วงที่เขียนภาพพ.ศ.2465 อยู่ในช่วงท่านเจ้าอาวาส วัดเกาะชื่อ”พระครูเพชรโรปมคุณ”(พ.ศ.2406-2469)เป็นผู้ที่มีความสนิทสนมกับเจ้านายราชวงค์ชั้นผู้ใหญ่และเป็นช่างศีลป รวมถึงพระในวัดก็เป็นช่างฝีมือดี อาจมีการถ่ายทอดศีลปทางจิตรกรรมมายังวัดกิ่งแก้ว
       -ผมรอให้ผู้รู้โปรดให้ความกระจ่างและโปรดให้อภัยหากมีสิ่งผิดพลาดสวัสดีครับ